แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ต่อมลูกหมากโต แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ต่อมลูกหมากโต แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ต่อมลูกหมากโต...น่ากลัวไหมครับ





ต่อมลูกหมาก เป็นอวัยวะหนึ่งในระบบสืบพันธุ์เพศชาย ลักษณะเป็นก้อนขนาดประมาณลูกเกาลัด ล้อมรอบท่อปัสสาวะส่วนต้น (อยู่ถัดจากส่วนล่างของกระเพาะปัสสาวะ) คนละส่วนกับลูกอัณฑะ ซึ่งอยู่ในถุงอัณฑะด้านนอก ดังนั้น การตรวจคลำต่อมลูกหมาก จึงต้องตรวจโดยการใช้นิ้ว หรือเครื่องมือสอดทางทวารหนัก
เมื่อผู้ชายมีอายุ 40 ปีขึ้นไป ต่อมลูกหมากจะมีการโตขึ้น แต่ส่วนใหญ่จะแสดงอาการหลังจากอายุ 50 ปีไปแล้ว บางคนอาการมาก บางคนอาการน้อย และเมื่ออายุมากขึ้น โอกาสที่จะเกิดอาการ และความรุนแรงของอาการจะเพิ่มขึ้น


อาการของโรคต่อมลูกหมากโต เกิดจากเมื่อต่อมลูกหมากโตขึ้น จนกดเบียดให้ท่อปัสสาวะส่วนต้น (ที่ต่อมลูกหมากล้อมรอบอยู่) แคบลง เกิดแรงเสียดทานในท่อปัสสาวะ ทำให้การปัสสาวะลำบากขึ้น อาการที่แสดงจะมี 2 กลุ่ม  


ปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวันและกลางคืน           
ปัสสาวะต้องรีบ กลั้นไม่ได้นาน           
ปัสสาวะเล็ดและราดเวลาปวดปัสสาวะ  
อาการปัสสาวะไม่สุด รู้สึกเหมือนว่ายังมีปัสสาวะค้างอยู่


ปัสสาวะต้องเบ่ง               
ปัสสาวะต้องรอ ไม่ออกทันที               
ปัสสาวะหยุดเป็นช่วงๆ       
ปัสสาวะพุ่งไม่แรง             
ปัสสาวะหยดๆ ตอนท้ายของการปัสสาวะ


โรคต่อมลูกหมากโต จัดเป็นโรคเนื้องอกชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง ดังนั้น โดยตัวของโรคเองไม่ถือว่าร้ายแรง ผู้ป่วยที่มีอาการข้างต้น มักมีปัญหาเกี่ยวกับการพักผ่อน ความวิตกกังวล รวมไปถึงการรบกวนชีวิตประจำวัน และการเข้าสังคม

ในกรณีที่อาการของโรครุนแรงมากขึ้น จนเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อและอักเสบของทางเดินปัสสาวะ การเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และการเสื่อมการทำงานของไต ถือเป็นอันตราย และเป็นข้อบ่งชี้ที่จะต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข

อันตรายอย่างหนึ่งที่ควรระวัง คือ มะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งพบได้ในผู้ชายสูงอายุเช่นกัน ผู้ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก อาจมีอาการคล้ายกับโรคต่อมลูกหมากโต เมื่อไม่ได้รับการตรวจและรักษาที่ถูกต้อง ก็เป็นการเปิดโอกาสให้มะเร็งลุกลามไปได้
ได้เวลาไปหาหมอ

ดังนั้นชายที่มีอายุ 40-50 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี รวมถึงการตรวจต่อมลูกหมาก โดยการตรวจทางทวารหนักและการเจาะเลือด เพื่อดูค่าบางอย่างที่เกี่ยวกับมะเร็งต่อมลูกหมาก เพื่อเป็นการป้องกันแต่เนิ่นๆ
ในรายที่มีอาการผิดปรกติ ดังที่กล่าวข้างต้น ควรเข้ารับการตรวจรักษา และรับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรคระบบทางเดินปัสสาวะ





แพทย์จะให้การรักษาตามความรุนแรงของอาการผู้ป่วยแต่ละคน โดยแบ่งเป็น 3 วิธี

1. การเฝ้าระวังผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย แพทย์จะแนะนำให้สังเกตอาการและปรับพฤติกรรมดังนี้   

ลดน้ำดื่มหลังอาหารเย็น และก่อนนอน        
พยายามไม่ให้ท้องผูก               
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือชากาแฟ        
หลีกเลี่ยงยาลดน้ำมูกบางตัวที่มีผลกับการปัสสาวะ


ยากลุ่มต้านอัลฟ่า ที่ออกฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อรอบต่อมลูกหมาก ทำให้ท่อปัสสาวะที่ตีบแคบขยายกว้างขึ้น ทำให้ปัสสาวะสะดวกขึ้น           
ยากลุ่มต่อต้านเอนไซม์ที่มีผลต่อการโตของต่อมลูกหมาก ซึ่งจะมีผลยับยั้งต่อมลูกหมากไม่ให้โตขึ้น และถ้าใช้เป็นเวลานาน 6 เดือนขึ้นไป จะมีผลให้ต่อมลูกหมากมีขนาดลดลงในระดับหนึ่ง

ปัสสาวะไม่ออก (ต้องใส่สายสวนปัสสาวะ)            
มีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ              
มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะหลายครั้ง    
ไตเสื่อมการทำงานซึ่งเป็นผลจากการอุดตัน

    
ยังไม่มีรายงานทางการแพทย์ที่บ่งบอกว่า การมีเพศสัมพันธ์ที่มากหรือน้อย จะมีผลต่อการเกิดโรคต่อมลูกหมากโต

ผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากโตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งมีความเสี่ยงเกี่ยวกับมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย ดังนั้นการลดการกินเนื้อสัตว์ และอาหารฟาสต์ฟู้ด และการกินอาหารที่ปรุงจากธัญพืช เช่น ถั่วเหลือง งา เมล็ดฟักทอง น้ำมันรำข้าว มะเขือเทศ จะช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก และช่วยให้สุขภาพแข็งแรงดีขึ้น
 

สั่งซื้อและเป็นตัวแทนจำหน่ายที่
คุณวราพร แคล้วศึก โทร 085-9083178
ดูรายละเอียดที่ http://www.pannfiturok.blogspot.com/


วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ต่อมลูกหมากโต Benigh prostatic hypertrophy

ต่อมลูกหมากโต Benigh prostatic hypertrophy


ต่อมลูกหมากโตคืออะไร
 
เมื่อผู้ชายเริ่มย่างเข้าอายุ 40 ปีต่อมลูกหมากจะโตเมื่ออายุมากขึ้น พบผู้ป่วยที่ต่อมลูกหมากโต เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 80 ต่อมลูกหมาก จะเริ่มโตจากด้านใน ดังนั้นก็จะกดท่อปัสสาวะทำให้ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะลำบาก ทำให้ปัสสาวะออกไม่หมด เหลือปัสสาวะบางส่วนในกระเพาะปัสสาวะ เกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้
 ทางเดินปัสสาวะถูกกด อาจจะทำให้กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไม่ได้และอาจจะเกิดไตวายได้หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

Prostate (ต่อมลูกหมาก )
bladder (กระเพาะปัสสาวะ)
ureter (ท่อไต )
eretha ( ท่อปัสสาวะ)
ต่อมลูกหมากโตเป็นโรคเดียวกับมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่


ต่อมลูกหมากโต เป็นเพียงมีเซลล์เพิ่มขึ้น ไม่ใช่มะเร็งต่อมลูกหมาก   ผู้ป่วยส่วนมากแม้จะมีต่อมลูกหมากโตแต่ก็ไม่มีอาการ
 
ผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตจะมีอาการอะไรบ้าง
อาการของต่อมลูกหมากโตเกิดจากต่อมลูกหมากโตกดท่อปัสสาวะทำให้ท่อปัสสาวะแคบ
 ระยะแรกของโรค กระเพาะปัสสาวะยังแข็งแรงสามารถบีบตัวไล่ปัสสาวะออกได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปกระเพาะปัสสาวะอ่อนแรงไม่สามารถบีบตัวไล่ปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการปัสสาวะสะดุด ผู้ป่วยบางคนอาจจะไม่มีอาการจนได้รับประทานยาแก้หวัด ผลข้างเคียงของยาแก้หวัดทำให้เกิดอาการปัสสาวะไม่อก อาการที่พบได้บ่อยคือ
1.ปัสสาวะไม่สุดเหมือนคนที่ยังไม่ได้ปัสสาวะ
2.ปัสสาวะบ่อย
3.ปัสสาวะสะดุดขณะปัสสาวะ
4.อั้นปัสสาวะไม่อยู่
5.ปัสสาวะไม่พุ่ง
6.ปัสสาวะต้องเบ่งเมื่อเริ่มปัสสาวะ
7.ต้องตื่นกลางคืนเนื่องจากปวดปัสสาวะ
*ถ้าหากผู้ป่วยยังไม่รักษาก็อาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้แก่ กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไม่ดีเกิดการคั่งของปัสสาวะและเกิดการติดเชื้อได้ง่าย ไตเสื่อม กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะเล็ด นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
 
การวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากโต
·         เมื่อผู้ป่วยที่สงสัยว่าต่อมลูกหมากโตไปพบแพทย์แพทย์จะถามประวัติเพื่อประเมินความรุนแรงของต่อมลูกหมาก
·         ซักประวัติเกี่ยวกับโรคทั่วไป
·         ตรวจร่างกายทั่วไป
·         ตรวจต่อมลูกหมากโดยการตรวจทางทวารหนัก
·         ตรวจปัสสาวะเพื่อหาว่ามีเลือดหรือการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
·         ตรวจเลือดเพื่อประเมินการทำงานของไตและตรวจ Prostate-specific antigen (PSA) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ผลิตจากต่อมลูกหมากค่านี้จะสูงในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
·         การตรวจส่องกล้อง cystoscope เพื่อดูต่อมลูกหมาก กระเพาะปัสสาวะเป็นการตรวจที่ได้ข้อมูลมาก
·         การตรวจ x-ray เรียก urogramหรือ IVP ( intravenous pyelography ) โดยการฉีดสีเข้าหลอดเลือดดำ และเมื่อสีขับเข้ากระเพาะปัสสาวะแพทย์จะสามารถเห็นตำแหน่งและความรุนแรงของการอุดกลั้นปัสสาวะ
·         การตรวจ ultrasound สามารถเห็นต่อมลูกหมาก ไต และกระเพาะปัสสาวะโดยทำผ่านทางทวารหนัก
การตรวจ Uroflowmetry เพื่อดูว่าทางเดินปัสสาวะถูกอุดมากน้อยแค่ไหน
 
ต่อมลูกหมากอักเสบ
ต่อมลูกหมากทำหน้าที่ในการสร้างน้ำเลี้ยงเชื้ออสุจิ หากมีเชื้อโรคเข้าไปก็จะทำให้กดบีบต่อมลูกหมากอักเสบ
 
เป็นการอักเสบของต่อมลูกหมากพบได้ในผู้ชายกลางคนผู้ป่วยมักจะไปพบแพทย์ด้วยเรื่องไข้ ปัสสาวะลำบากการอักเสบของต่อมลูกหมากแบ่งได้เป็น
1.   Acute prostatitis
2.   Chronic bacterial prostatitis
3.   Chronic prostatitis/chronic pelvic pain syndrome พบบ่อยที่สุด
Acute prostatitis
เป็นการอักเสบของต่อมลูกหมากที่เกิดจากการติดเชื้อโรค
 
สาเหตุ
1.   เชื้อโรคมาจากแบคทีเรียทางเดินปัสสาวะ เชื้อที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยคือ . Escherichia coli โดยเชื้อจะมาตามท่อปัสสาวะแล้เข้าสู่ต่อมลูกหมากและแบ่งตัวอย่างรวดเร็วทำให้เกิดการอักเสบ
2.   จากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยเชื้อที่เป็นสาเหตุคือ หนองใน(gonorrhea) chlamy
3.   จากการส่องกล้อง
 
อาการของผู้ป่วยต่อมลูกหมากอักเสบ
อาการมักจะรุนแรงและเกิดทันที อาการที่เกิดได้แก่
·         ไข้สูงหนาวสั่น
·         ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดหลังและปวดข้อ
·         ปวดบริเวณอัณฑะและอวัยวะเพศ
·         ปัสสาวะบ่อย
·         ปัสสาวะไม่สุด อั้นปัสสาวะไม่ได้
·         ปัสสาวะไม่พุ่ง
·         จะมีอาการปวดเมื่อปัสสาวะ
 
การวินิจฉัย
เมื่อแพทย์ตรวจร่างกายและสงสัยว่าเป็นต่อมลูกหมากอักเสบแพทย์จะตรวจต่อไปนี้
·       ตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนักพบว่าต่อมลูกหมากบวมและกดเจ็บ รายที่เกิดจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อาจจะมีอัณฑะอักเสบร่วมด้วย
·         ตรวจปัสสาวะพบว่ามีเม็ดเลือดขาวและเชื้อแบคทีเรียมาก
 
การรักษา
ยาที่ใช้รักษาคลิที่นี่ นอกจากนั้นยังใช้ยาดังต่อไปนี้รักษาเช่น ciprofloxacin, norfloxacin, ofloxacin or levofloxacin โดยให้ยา 4 สัปดาห์
Chronic bacterial prostatitis
เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียของต่อมลูกหมากเรื้อรังและมักจะเป็นสาเหตุของการติดเชื้อซ้ำทางเดินปัสสาวะ มักจะติดเชื้อหลังจากทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือตามหลังท่อปัสสาวะอักเสบ หรือต่อมลูกหมากอักเสบ
อาการของต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรัง
อาการของผู้ป่วยแต่ละคนจะไม่ค่อยเหมือนกัน อาการต่างๆที่พบได้คือ
·         ผู้ป่วยมักจะมีประวัติการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็นๆหายๆ
·         ปัสสาวะบ่อย อั้นปัสสาวะไม่ได้
·         ปัสสาวะกลางคืน
·         เมื่อปัสสาวะจะปวด
·         ปวดบริเวณอัณฑะและอวัยวะเพศ
·         เมื่อหลั่งน้ำกามจะปวด
·         ปวดหลัง
·         ปัสสาวะมีเลือดปน
·         ปัสสาวะเล็ด
การวินิจฉัย
เนื่องจากอาการของต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรังไม่มากและชัดเจนหากสงสัยสามารถวินิจฉัยโดยการตรวจต่อมลูกหมากทางทางทวารหนัก และนวดต่อมลูกหมากเพื่อนำสารหลังไปตรวจซึ่งจะพบเม็ดเลือดขาวมาก และเพาะเชื้อพบเชื้อแบคทีเรีย
การรักษา
·         เนื่องจากยาจะเข้าต่อมลูกหมากได้ไม่ดีดังนั้นการให้ยาอาจจะต้องให้ยา 2-3 เดือน แม้ว่าบางครั้งอาจจะฆ่าเชื้อไดไม่หมดก็อาจจะให้ยาปฏิชีวนะขนาดต่ำเพื่อป้องกันการเกิดอาการ ยาที่นิยมใช้คือtrimethoprim-sulfamethoxazole และ fluoroquinolones
·         แช่ก้นในน้ำอุ่นจะช่วยลดอาการปวดขัดได้
·         หลีกเลี่ยงอาหารที่ระคายต่อกระเพาะปัสสาวะเช่น alcohol, citrus juices, อาหารเผ็ดๆ และ caffeine.
·         ในรายที่เป็นเรื้อรังแพทย์อาจจะพิจารณาผ่าตัด
Chronic non-bacterial prostatitis/chronic pelvic pain syndrome
เป็นการอักเสบของต่อมลูกหมากที่พบบ่อยที่สุดโดยเกิดจากการติดเชื้อ chlamydia หรือ ureaplasma โรคนี้อาจจะเกิดตามหลังทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือท่อปัสสาวะอักเสบ
อาการเหมือนผู้ป่วยต่อมลูกหมากอักเสบเรึ้อรัง
การวินิจฉัยเหมือนต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรังแต่จะไม่พบเชื้อแบคทีเรียเมื่อนำสารหลังจากต่อมลูกหมากไปเพาะเชื้อ
การรักษา
·         รักษายากยาที่ใช้ได้แก่ tetracyclin,doxycyclin ,erythromycin ต้องรักษา 6-8 สัปดาห์
·         ได้รับยาระบายหากมีอาการท้องผูก
·         การผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากออกหากใช้ยาแล้วไม่ได้ผล
·         สวมถุงยางเมื่อมีการร่วมเพศ
·         แช่ก้นด้วยน้ำอุ่นจะช่วยลดอาการปัสสาวะบ่อย
·         ดื่มน้ำวันละอย่างน้อย 8 แก้ว
·         หลีกเลี่ยงอาหารที่ระคายต่อกระเพาะปัสสาวะเช่น alcohol, citrus juices, อาหารเผ็ดๆ และ caffeine.
สาเหตุ
4.   เชื้อโรคมาจากแบคทีเรียทางเดินปัสสาวะ เชื้อที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยคือ . Escherichia coli โดยเชื้อจะมาตามท่อปัสสาวะแล้เข้าสู่ต่อมลูกหมากและแบ่งตัวอย่างรวดเร็วทำให้เกิดการอักเสบ
5.   จากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยเชื้อที่เป็นสาเหตุคือ หนองใน(gonorrhea) chlamydia
6.   จากการส่องกล้อง
อาการของผู้ป่วยต่อมลูกหมากอักเสบ
อาการมักจะรุนแรงและเกิดทันที อาการที่เกิดได้แก่
·         ไข้สูงหนาวสั่น
·         ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดหลังและปวดข้อ
·         ปวดบริเวณอัณฑะและอวัยวะเพศ
·         ปัสสาวะบ่อย
·         ปัสสาวะไม่สุด อั้นปัสสาวะไม่ได้
·         ปัสสาวะไม่พุ่ง
·         จะมีอาการปวดเมื่อปัสสาวะ
การวินิจฉัย
เมื่อแพทย์ตรวจร่างกายและสงสัยว่าเป็นต่อมลูกหมากอักเสบแพทย์จะตรวจต่อไปนี้
·         ตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนักพบว่าต่อมลูกหมากบวมและกดเจ็บ รายที่เกิดจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อาจจะมีอัณฑะอักเสบร่วมด้วย
·         ตรวจปัสสาวะพบว่ามีเม็ดเลือดขาวและเชื้อแบคทีเรียมาก
การรักษา
ยาที่ใช้รักษา นอกจากนั้นยังใช้ยาดังต่อไปนี้รักษาเช่น ciprofloxacin, norfloxacin, ofloxacin or levofloxacin โดยให้ยา 4 สัปดาห์
Chronic bacterial prostatitis
เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียของต่อมลูกหมากเรื้อรังและมักจะเป็นสาเหตุของการติดเชื้อซ้ำทางเดินปัสสาวะ มักจะติดเชื้อหลังจากทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือตามหลังท่อปัสสาวะอักเสบ หรือต่อมลูกหมากอักเสบ
อาการของต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรัง
อาการของผู้ป่วยแต่ละคนจะไม่ค่อยเหมือนกัน อาการต่างๆที่พบได้คือ
·         ผู้ป่วยมักจะมีประวัติการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็นๆหายๆ
·         ปัสสาวะบ่อย อั้นปัสสาวะไม่ได้
·         ปัสสาวะกลางคืน
·         เมื่อปัสสาวะจะปวด
·         ปวดบริเวณอัณฑะและอวัยวะเพศ
·         เมื่อหลั่งน้ำกามจะปวด
·         ปวดหลัง
·         ปัสสาวะมีเลือดปน
·         ปัสสาวะเล็ด
การวินิจฉัย
เนื่องจากอาการของต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรังไม่มากและชัดเจนหากสงสัยสามารถวินิจฉัยโดยการตรวจต่อมลูกหมากทางทางทวารหนัก และนวดต่อมลูกหมากเพื่อนำสารหลังไปตรวจซึ่งจะพบเม็ดเลือดขาวมาก และเพาะเชื้อพบเชื้อแบคทีเรีย
การรักษา
·         เนื่องจากยาจะเข้าต่อมลูกหมากได้ไม่ดีดังนั้นการให้ยาอาจจะต้องให้ยา 2-3 เดือน แม้ว่าบางครั้งอาจจะฆ่าเชื้อไดไม่หมดก็อาจจะให้ยาปฏิชีวนะขนาดต่ำเพื่อป้องกันการเกิดอาการ ยาที่นิยมใช้คือtrimethoprim-sulfamethoxazole และ fluoroquinolones
·         แช่ก้นในน้ำอุ่นจะช่วยลดอาการปวดขัดได้
·         หลีกเลี่ยงอาหารที่ระคายต่อกระเพาะปัสสาวะเช่น alcohol, citrus juices, อาหารเผ็ดๆ และ caffeine.
·         ในรายที่เป็นเรื้อรังแพทย์อาจจะพิจารณาผ่าตัด
Chronic non-bacterial prostatitis/chronic pelvic pain syndrome
เป็นการอักเสบของต่อมลูกหมากที่พบบ่อยที่สุดโดยเกิดจากการติดเชื้อ chlamydia หรือ ureaplasma โรคนี้อาจจะเกิดตามหลังทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือท่อปัสสาวะอักเสบ
อาการเหมือนผู้ป่วยต่อมลูกหมากอักเสบเรึ้อรัง
การวินิจฉัยเหมือนต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรังแต่จะไม่พบเชื้อแบคทีเรียเมื่อนำสารหลังจากต่อมลูกหมากไปเพาะเชื้อ
การรักษา
·         รักษายากยาที่ใช้ได้แก่ tetracyclin,doxycyclin ,erythromycin ต้องรักษา 6-8 สัปดาห์
·         ได้รับยาระบายหากมีอาการท้องผูก
·         การผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากออกหากใช้ยาแล้วไม่ได้ผล
·         สวมถุงยางเมื่อมีการร่วมเพศ
·         แช่ก้นด้วยน้ำอุ่นจะช่วยลดอาการปัสสาวะบ่อย
·         ดื่มน้ำวันละอย่างน้อย 8 แก้ว
·         หลีกเลี่ยงอาหารที่ระคายต่อกระเพาะปัสสาวะเช่น alcohol, citrus juices, อาหารเผ็ดๆ และ caffeine.
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
สาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากยังไม่มีใครทราบ แต่เท่าที่วิจัยได้พบว่าความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากได้แก่
·         อายุ มะเร็งต่อมลูกหมากพบในผู้ป่วยอายุมากกว่า 50ปีขึ้นไป อายุโดยเฉลี่ยประมาณ 70 ปี
·         ประวัติครอบครัว พบว่าชายที่มีพ่อ หรือพี่น้องเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจะมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากสูงกว่าคนทั่วไป
·         เชื้อชาติ พบไม่บ่อยในชาวเอเชียแต่พบบ่อยในอเมริกา
·         อาหาร พบว่าผู้ที่บริโภคมันจากสัตว์มากมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ส่วนผู้ที่บริโภคผักและผลไม้จะลดโอกาสเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากผู้ที่สูบบุหรี่ก็มีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
ยังไม่พบหลักฐานว่าการทำหมันชายทำให้มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมากขึ้นขณะนี้กำลังศึกษาว่า ต่อมลูกหมากโต คนอ้วน การขาดการออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การเจอรังสี การติดเชื้อไวรัสบางชนิดเป็นสาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่ เท่าที่มีหลักฐานยังไม่พบความสัมพันธ์ดังกล่าว
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมากควรตรวจอะไรบ้าง
สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวควรจะปรึกษาแพทย์ว่าเมื่อไรจึงจะตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก แม้ว่าจะไม่มีอาการ จะตรวจอะไรบ้าง และตรวจถี่แค่ไหน แพทย์จะแนะนำให้ตรวจดังที่จะแสดงข้างล่าง แต่การตรวจดังกล่าวเป็นการตรวจว่ามีความผิดปกติที่ต่อมลูกหมากหรือไม่มิใช่บ่งว่าเป็นมะเร็ง
·         การตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนักโดยการที่แพทย์ใส่ถุงมือ ใช้ vaslin หล่อลื่นนิ้วมือ แล้วตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนักเพื่อดูว่ามีก้อน หรือขนาดโตขึ้น
·         การตรวจหาสาร PSA ซึ่งเป็นสารโปรตีนที่ผลิตโดยต่อมลูกหมาก ค่าจะสูงในโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ค่าปกติจะน้อยกว่า 4 nanogram ค่าอยู่ระหว่าง 4-10 nanogram ค่านี้อยู่ระดับปานกลางถ้าค่ามากกว่า 10 ถือว่าสูงค่ายิ่งสูงโอกาสเป็นมะเร็งก็จะสูง นอกจากนี้ยังพบว่าค่า PSA สูงพบได้ในโรค ต่อมลูกหมากโต การอักเสบของต่อมลูกหมาก ค่ามักจะอยู่ระหว่าง 4-10 nanogram
หากการตรวจดังกล่าวพบว่าผิดปกติก็จะต้องตรวจเพิ่มเพื่อยืนยันว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่
อาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งต่อมลูกหมากแรกเริ่มจะไม่มีอาการ แต่หากมีอาการจะเกิดอาการเหล่านี้
·         ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะเวลากลางคืน
·         เวลาเริ่มปัสสาวะจะลำบาก
·         ปัสสาวะไม่พุ่ง
·         เวลาปัสสาวะจะปวด
·         อวัยวะเพศแข็งตัวยาก
·         เวลาหลั่งเมื่อถึงจุดสุดยอดจะปวด
·         มีเลือดในน้ำเชื้อหรือปัสสาวะ
·         ปวดหลังปวดข้อ
อาการต่างๆเหล่านี้อาจจะเกิดในผู้ป่วยที่ต่อมลูกหมากโตหรือต่อมลูกหมากอักเสบ
การวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
เมื่อผู้ป่วยที่การตรวจเบื้องต้นสงสัยว่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมากแพทย์ทั่วไปจะปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อการวินิจฉัยต่อไปโดยทั่วไปนิยมตรวจ
·         Transrectal ultrasonography การทำ ultrasound ต่อมลูกหมากทางทวารหนัก
·         Intravenous pyelography คือการฉีดสีเข้าหลอดเลือดดำเพื่อให้สีขับออกทางไต ไปกระเพาะปัสสาวะ
·         Cystoscope แพทย์จะส่องกล้องเข้าทางท่อปัสสาวะ
เมื่อสงสัยเป็นมะเร็งแพทย์จะใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากไปตรวจทางพยาธิถ้าเป็นต่อมลูกหมากโตก็จะรักษาตามขั้นตอน
ระยะของโรค
การวางแผนการรักษาจะต้องรู้ว่ามะเร็งต่อมลูกหมากแพร่กระจายหรือยังหรือยังอยู่เฉพาะที่ต่อมลูกหมาก โดยจะต้องมีการตรวจเพิ่มเช่นการตัดชิ้นเนื้อจากทวารหนัก การ x-ray พิเศษ ที่นิยมแบ่งเป็น 4 ระยะได้แก่ 1-4 หรือ A-D
1.   Stage 1 หรือ A ระยะนี้ผู้ป่วยไม่มีอาการไม่สามารถตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากทาง ทวารทราบว่าเป็นโดยการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตระยะนี้มะเร็งอยู่เฉพาะในต่อมลูกหมาก
2.   Stage 2หรือ B สามารถตรวจได้จาการตรวจต่อมลูกหมากโดยการใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากเนื่องจากค่า PSA สูงมะเร็งยังอยู่ในต่อมลูกหมากไม่แพร่กระจาย
3.   Stage 3หรือC มะเร็งแพร่กระจายไปเนื้อเยื่ออยู่ใกล้ต่อมลูกหมาก
4.   Stage 4 หรือDมะเร็งแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะอื่น
5.   Reccurent หมายถึงภาวะที่มะเร็งกลับเป็นใหม่หลังจากรักษาไปแล้ว
การรักษา
แพทย์จะเลือกวิธีรักษาโดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆดังนี้
·         ระยะของโรคว่าแพร่กระจายหรือยัง
·         ชนิดของมะเร็ง
·         ประโยชน์ที่ได้จากการรักษา
·         ผลข้างเคียงของการรักษาและการป้องกัน
·         การรักษานี้มีผลต่อความรู้สึกทางเพศหรือไม่ มีผลต่อการปัสสาวะหรือไม่ หลังรักษามีปัญหาถ่ายเหลวหรือไม่
·         คุณภาพชีวิตหลังรักษา
วิธีการรักษา
1.   การเฝ้ารอดูอาการ เหมาะสำหรับมะเร็งที่เริ่มเป็นและผู้ป่วยสูงอายุหรือมีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา
2.   การผ่าตัด Prostatectomy เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในการรักษามะเร็งในระยะเริ่มต้นซึ่งมีวิธีการทำผ่าตัดได้ 3 วิธี
·         radical retropubic prostatectomy แพทย์จะผ่าตัดผ่านทางหน้าท้องโดยตัดเอาต่อมลูกหมากและต่อมน้ำเหลือง
·         radical perineal prostatectomy แพทย์ผ่าตัดผ่านทางผิวหนังบริเวณอัณฑะและทวารหนักโดยตัดต่อมลูกหมาก ส่วนต่อมน้ำเหลืองต้องตัดออกโดยผ่านทางหน้าท้อง
·         transurethral resection of the prostate (TURP)เป็นการตักต่อมลูกหมากโดยการส่องกล้องผ่านอวัยวะเพศเป็นการตัดชิ้นเนื้อเพื่อให้ปัสสาวะไหลคล่อง
ถ้าผลชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลืองมีเชื้อมะเร็งแสดงว่ามะเร็งนั้นแพร่กระจายแล้ว
2.   Radiation therapy การให้รังสีรักษาเป็นการให้ในกรณีที่มะเร็งนั้นก้อนขนาดเล็กหรือให้หลังจากผ่าตัดต่อมลูกหมากไปแล้วการให้รังสีรักษา อาจจะให้โดยการฉายแสงจากภายนอกหรือการฝังวัตถุอาบรังสีไว้ใกล้เนื้องอก implant radiationหรือ brachytherapy
3.   Hormonal therapy เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากต้องใช้ฮอร์โมนในการเจริญเติบโตการให้ฮอร์โมนจะใช้ในกรณีที่มะเร็งได้แพร่กระจายแล้ว หรือเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำหลังการรักษาซึ่งมีวิธีการรักษาดังนี้
·         การตัดลูกอัณฑะซึ่งเป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนเพศชาย
·         การใช้ยาเพื่อลดการสร้างฮอร์โมน testosterone เช่น leuprolide, goserelin, และ buserelin.
·         ยาที่ป้องกันการออกฤทธิ์ของ androgen เช่น flutamide และ bicalutamide.
·         ยาที่ป้องกันต่อมหมวกไตไม่ให้สร้างฮอร์โมน androgen เช่น ketoconazole and aminoglutethimide.
4.   Chemotherapy การให้เคมีบำบัดเป็นการฆ่าเซลล์มะเร็งโดยการให้สารเคมีซึ่งการรักษายังไม่ดีพบใช้ในกรณีที่โรคแพร่กระจายแล้ว
5.   ใช้สารที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิหรือภูมิที่สร้างจากภายนอกเพื่อให้ภูมิต่อสู่กับเชื้อโรค
6.   cryotherapy เป็นการรักษาใหม่โดยใช้เข็มสอดเข้าในต่อมลูกหมากแล้วฉีดสาร liquid nitrogen เพื่อแช่แข็งมะเร็งต่อมลูกหมาก ใช้ในกรณีที่ไม่เหมาะในการผ่าตัดผลการรักษายังไม่ยืนยันว่าได้ผลดี
ผลข้างเคียงของการรักษา
1.   การเฝ้ารอสังเกตอาการผลเสียคือทำให้เสียโอกาสในการรักษามะเร็งในระยะเริ่มแรก
2.   การผ่าตัด จะทำให้เจ็บปวดในระยะแรก และผู้ป่วยต้องคาสายสวนปัสสาวะ10วัน-3 สัปดาห์ การผ่าตัดอาจจะทำให้กลั้นปัสสาวะและอุจาระไม่ได้ และอาจจะเกิดกามตายด้าน นอกจากนี้จะไม่มีน้ำเชื้อเมื่อถึงจุดสุดยอด
3.   การฉายรังสีจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลียการผักผ่อนเป็นเรื่องที่สำคัญแต่ก็ควรออกกำลังเท่าที่จะทำได้ การฉายรังสีอาจจะทำให้ผมร่วง และอาจจะทำให้เกิดกามตายด้าน
4.   การให้ฮอร์โมนจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเหมือนชายวัยทองคือมีอาการกามตายด้าน ร้อนตามตัว
การป้องกัน
·         อาหารป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก
·         มีการศึกษาว่า วิตามินอี selenium และน้ำมะเขือเทศสามารถลดการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้
·         การลดอาหารไขมันและเพิ่มถั่ว ผัก ผลไม้สามารถป้องกันมะเร็งได้
เมื่อไรจะรักษาต่อมลูกหมากโต
ต่อมลูกหมากโตหากไม่มีอาการไม่จำเป็นต้องรักษาจะรักษาเมื่อมีอาการมากหรือไตเริ่มทำงานไม่ดี
การรักษาต่อมลูกหมากโตมีได้กี่วิธี
1.   Watchful waiting ถ้าต่อมลูกหมากที่โตไม่เกิดอาการท่านและแพทย์ที่ดูแลท่านอาจจะตกลงว่ายังไม่จำเป็นต้องให้ยา หรือการรักษาอย่างอื่นแต่ท่านต้องตรวจตามที่แพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะประเมินว่าต่อมลูกหมากที่โตเกิดปัญหาต่อสุขภาพหรือยัง ผู้ป่วยที่ต่อมลูกหมากโตไม่มากประมาณ1/3อาการจะดีขึ้นเอง แพทย์จะแนะนำมิให้รับประทานยาลดน้ำมูกเพราะจะทำให้อาการแย่ลง ผู้ป่วยที่ใช้วิธีเฝ้าคอย บางท่านอาการดีขึ้น บางท่านอาการคงที่บางท่านอาการแย่ลง
2.   Alfa blocker drug treatment เป็นยาที่ทำให้กล้ามเนื้อในต่อมลูกหมากคลายตัว ยานี้ไม่ได้โรคแทรกซ้อนหรือทำให้ต่อมลูกหมากลดลงยาที่มีอยู่คือ doxazosin , prazosin
·         terazosin ยาจะขยายกล้ามเนื้อของหลอดเลือดและของต่อมลูกหมากทำให้ความดันโลหิตลดลงและทำให้ปัสสาวะคล่องขึ้น
·         Finasteride ยาตัวนี้ออกฤทธิ์ต่อฮอร์โมนเพศชาย testosterone รับประทานวันละครั้ง ยาตัวนี้จะทำให้ขนาดของต่อมลูกหมากเล็กลงอาการผู้ป่วยจะดีหลังจากรับประทานไป 6 เดือนผลข้างเคียงของยาคือลดความต้องการทางเพศ
3.   การรักษาต่อมลูกหมากโตโดยไม่ใช้วิธีผ่าตัดได้แก่
·         Transurethral Microwave Procedures โดยการใช้ความร้อนจาก Microwave ทำลายเนื้อต่อมลูกหมากผ่านทางท่อปัสสาวะเรียกการรักษานี้ว่า transurethral microwave thermotherapy (TUMT) การรักษานี้จะทำให้ปัสสาวะไหลดีขึ้นการรักษาวิธีนี้ไม่ทำให้เกิดปัสสาวะเล็ดหรือความรู้สึกทางเพศลดลง
·         Transurethral Needle Ablation (TUNA) โดยใช้พลังงานความร้อนจากคลื่นความถี่วิทยุทำลายต่อมลูกหมาก การรักษาวิธีนี้ไม่ทำให้เกิดปัสสาวะเล็ดหรือความรู้สึกทางเพศลดลง
5.   Ballon dilatation โดยการสวนสายเข้าในท่อปัสสาวะและปลายสายมี ballon เพื่อขยายท่อปัสสาวะส่วนที่ต่อมลูกหมากอยู่ผลคือปัสสาวะจะไหลออกดีขึ้น ข้อเสียอาจจะมีเลือดออกและเกิดการติดเชื้อ
6.   การผ่าตัดเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาต่อมลูกหมากโตแต่ก็มีโรคแทรกซ้อนร่วมด้วย
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดต่อมลูกหมากโต
·         ปัสสาวะไม่ออก
·         ปัสสาวะล้นไปที่ไตทำให้ไตเสื่อม
·         มีการติดเชื้อปัสสาวะบ่อย
·         มีเลือดออกทางเดินปัสสาวะ
·         มีนิ่วทางเดินปัสสาวะ
วิธีการผ่าตัดมีกี่วิธี
1.   Transurethral resection of the prostate (TURP) โดยการใส่เครื่องมือเข้าทางท่อปัสสาวะและใช้เครื่องมือตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก หลังจากผ่าตัดผู้ป่วยยังคงต้องคาสายสวนปัสสาวะอีก 2-3 วัน
2.   Transurethral incision of the prostate (TUIP) ใช้ในกรณีที่ต่อมลูกหมากไม่โตมากโดยใช้เครื่องมือใส่เข้าท่อปัสสาวะแล้วกรีดต่อมลูกหมาก 2-3 รอยไม่มีการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากซึ่งจะลดความดันในต่อมลูกหมากทำให้ปัสสาวะออกง่ายขึ้น
3.   Open prostatectomy ใช้กรณีที่ต่อมลูกหมากโตมากโดยผ่าตัดผ่านทางหน้าท้องแล้วเอาต่อมลูกหมากออก
4.   Laser Surgery โดยการใส่เครื่องมือเข้าทางท่อปัสสาวะและปล่อยรังสีที่ต่อมลูกหมากความร้อนจากรังสีจะทำลายเนื้อต่อมลูกหมาก
หลังการผ่าตัดจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
หลังการผ่าตัดจะต้องนอนโรงพยาบาล 3-10 วันโดยมีการคาสายสวนปัสสาวะไว้เพื่อล้างกระเพาะปัสสาวะ เนื่องจากหลังการผ่าตัดจะมีเลือดออกได้หลายวัน หลังการผ่าตัดแผลยังอาจจะหายไม่ดีจึงมีข้อควรปฏิบัติดังนี้
·         ดื่มน้ำมากกว่าวันละ 8 แก้ว
·         เวลาถ่ายอุจาระอย่าเบ่งมาก
·         รับประทานผักและผลไม้ให้มากเพื่อป้องกันท้องผูก
·         อย่ายกของหนัก
·         หลีกเลี่ยงการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร
โรคแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
1.   หลังจากเอาสายสวนท่อปัสสาวะออก จะรู้สึกปัสสาวะแรงขึ้นและอาจจะมีอาการปวดขัดในช่วงแรก
2.   กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ซึ่งเป็นช่วงแรกของการผ่าตัด
3.   อาจจะมีเลือดออกได้ หากปัสสาวะมีเลือดออกไม่หยุดให้ปรึกษาแพทย์
4.   โรคแทรกซ้อนเกี่ยวกับความรู้สึกทางเพศ
·         การแข็งตัวของอวัยวะเพศ ถ้าหากก่อนผ่าตัดอวัยวะเพศสามารถแข็งตัวได้หลังผ่าตัดก็แข็งตัวได้เนื่องจากการผ่าตัดไม่ทำให้ความรู้สึกทางเพศลดลง
·         การหลั่งน้ำเชื้อ ผู้ป่วยเมื่อร่วมเพศและถึงจุดสุดยอดแต่จะไม่มีการหลั่งน้ำออกเนื่องจากน้ำเชื้อจะไหลกลับเข้ากระเพาะปัสสาวะซึ่งไม่อันตราย
·         การถึงจุดสุดยอด ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถทำการบ้านได้ดีเหมือนก่อนผ่า
อาการต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia)
อาการต่อมลูกหมากโตในเพศชายเป็นอีกโรคหนึ่งที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของการเจริญเติบโตของต่อมลูกหมากในวัยเด็ก ก่อนจะมาแสดงอาการตอนอายุมากแล้ว โดยเฉพาะช่วงอายุ 30-40 ปี ซึ่งต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะที่อยู่รอบท่อปัสสาวะติดกับกระเพาะปัสสาวะ และมีหน้าที่สร้างน้ำหล่อเลี้ยงตัวเชื้ออสุจิ ดังรูป


สำหรับผู้ที่มีอาการต่อมลูกหมากโตนั้น ต่อมลูกหมากจะโตช้ามากในช่วงวัยเด็ก แต่จะเริ่มโตขึ้นเรื่อยๆ หลังจากอายุ 30-40 ปี เป็นสาเหตุให้เกิดอาการต่อมลูกหมากโตผฺดปกติ โดยเฉพาะในผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 40 ปี

 
ปัญหาต่อมลูกหมากโต>>>>>>>สามารถแก้ปัญหาได้ด้วย UROK ผลิตภัณฑ์สำหรับคุณผู้ชายโดยเฉพาะ
 

สั่งซื้อและเป็นตัวแทนจำหน่ายที่
คุณวราพร แคล้วศึก โทร 085-9083178
ดูรายละเอียดที่ http://www.pannfiturok.blogspot.com/
บล็อกสินค้าแนะนำ