วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ต่อมลูกหมากโต Benigh prostatic hypertrophy

ต่อมลูกหมากโต Benigh prostatic hypertrophy


ต่อมลูกหมากโตคืออะไร
 
เมื่อผู้ชายเริ่มย่างเข้าอายุ 40 ปีต่อมลูกหมากจะโตเมื่ออายุมากขึ้น พบผู้ป่วยที่ต่อมลูกหมากโต เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 80 ต่อมลูกหมาก จะเริ่มโตจากด้านใน ดังนั้นก็จะกดท่อปัสสาวะทำให้ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะลำบาก ทำให้ปัสสาวะออกไม่หมด เหลือปัสสาวะบางส่วนในกระเพาะปัสสาวะ เกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้
 ทางเดินปัสสาวะถูกกด อาจจะทำให้กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไม่ได้และอาจจะเกิดไตวายได้หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

Prostate (ต่อมลูกหมาก )
bladder (กระเพาะปัสสาวะ)
ureter (ท่อไต )
eretha ( ท่อปัสสาวะ)
ต่อมลูกหมากโตเป็นโรคเดียวกับมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่


ต่อมลูกหมากโต เป็นเพียงมีเซลล์เพิ่มขึ้น ไม่ใช่มะเร็งต่อมลูกหมาก   ผู้ป่วยส่วนมากแม้จะมีต่อมลูกหมากโตแต่ก็ไม่มีอาการ
 
ผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตจะมีอาการอะไรบ้าง
อาการของต่อมลูกหมากโตเกิดจากต่อมลูกหมากโตกดท่อปัสสาวะทำให้ท่อปัสสาวะแคบ
 ระยะแรกของโรค กระเพาะปัสสาวะยังแข็งแรงสามารถบีบตัวไล่ปัสสาวะออกได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปกระเพาะปัสสาวะอ่อนแรงไม่สามารถบีบตัวไล่ปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการปัสสาวะสะดุด ผู้ป่วยบางคนอาจจะไม่มีอาการจนได้รับประทานยาแก้หวัด ผลข้างเคียงของยาแก้หวัดทำให้เกิดอาการปัสสาวะไม่อก อาการที่พบได้บ่อยคือ
1.ปัสสาวะไม่สุดเหมือนคนที่ยังไม่ได้ปัสสาวะ
2.ปัสสาวะบ่อย
3.ปัสสาวะสะดุดขณะปัสสาวะ
4.อั้นปัสสาวะไม่อยู่
5.ปัสสาวะไม่พุ่ง
6.ปัสสาวะต้องเบ่งเมื่อเริ่มปัสสาวะ
7.ต้องตื่นกลางคืนเนื่องจากปวดปัสสาวะ
*ถ้าหากผู้ป่วยยังไม่รักษาก็อาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้แก่ กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไม่ดีเกิดการคั่งของปัสสาวะและเกิดการติดเชื้อได้ง่าย ไตเสื่อม กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะเล็ด นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
 
การวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากโต
·         เมื่อผู้ป่วยที่สงสัยว่าต่อมลูกหมากโตไปพบแพทย์แพทย์จะถามประวัติเพื่อประเมินความรุนแรงของต่อมลูกหมาก
·         ซักประวัติเกี่ยวกับโรคทั่วไป
·         ตรวจร่างกายทั่วไป
·         ตรวจต่อมลูกหมากโดยการตรวจทางทวารหนัก
·         ตรวจปัสสาวะเพื่อหาว่ามีเลือดหรือการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
·         ตรวจเลือดเพื่อประเมินการทำงานของไตและตรวจ Prostate-specific antigen (PSA) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ผลิตจากต่อมลูกหมากค่านี้จะสูงในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
·         การตรวจส่องกล้อง cystoscope เพื่อดูต่อมลูกหมาก กระเพาะปัสสาวะเป็นการตรวจที่ได้ข้อมูลมาก
·         การตรวจ x-ray เรียก urogramหรือ IVP ( intravenous pyelography ) โดยการฉีดสีเข้าหลอดเลือดดำ และเมื่อสีขับเข้ากระเพาะปัสสาวะแพทย์จะสามารถเห็นตำแหน่งและความรุนแรงของการอุดกลั้นปัสสาวะ
·         การตรวจ ultrasound สามารถเห็นต่อมลูกหมาก ไต และกระเพาะปัสสาวะโดยทำผ่านทางทวารหนัก
การตรวจ Uroflowmetry เพื่อดูว่าทางเดินปัสสาวะถูกอุดมากน้อยแค่ไหน
 
ต่อมลูกหมากอักเสบ
ต่อมลูกหมากทำหน้าที่ในการสร้างน้ำเลี้ยงเชื้ออสุจิ หากมีเชื้อโรคเข้าไปก็จะทำให้กดบีบต่อมลูกหมากอักเสบ
 
เป็นการอักเสบของต่อมลูกหมากพบได้ในผู้ชายกลางคนผู้ป่วยมักจะไปพบแพทย์ด้วยเรื่องไข้ ปัสสาวะลำบากการอักเสบของต่อมลูกหมากแบ่งได้เป็น
1.   Acute prostatitis
2.   Chronic bacterial prostatitis
3.   Chronic prostatitis/chronic pelvic pain syndrome พบบ่อยที่สุด
Acute prostatitis
เป็นการอักเสบของต่อมลูกหมากที่เกิดจากการติดเชื้อโรค
 
สาเหตุ
1.   เชื้อโรคมาจากแบคทีเรียทางเดินปัสสาวะ เชื้อที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยคือ . Escherichia coli โดยเชื้อจะมาตามท่อปัสสาวะแล้เข้าสู่ต่อมลูกหมากและแบ่งตัวอย่างรวดเร็วทำให้เกิดการอักเสบ
2.   จากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยเชื้อที่เป็นสาเหตุคือ หนองใน(gonorrhea) chlamy
3.   จากการส่องกล้อง
 
อาการของผู้ป่วยต่อมลูกหมากอักเสบ
อาการมักจะรุนแรงและเกิดทันที อาการที่เกิดได้แก่
·         ไข้สูงหนาวสั่น
·         ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดหลังและปวดข้อ
·         ปวดบริเวณอัณฑะและอวัยวะเพศ
·         ปัสสาวะบ่อย
·         ปัสสาวะไม่สุด อั้นปัสสาวะไม่ได้
·         ปัสสาวะไม่พุ่ง
·         จะมีอาการปวดเมื่อปัสสาวะ
 
การวินิจฉัย
เมื่อแพทย์ตรวจร่างกายและสงสัยว่าเป็นต่อมลูกหมากอักเสบแพทย์จะตรวจต่อไปนี้
·       ตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนักพบว่าต่อมลูกหมากบวมและกดเจ็บ รายที่เกิดจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อาจจะมีอัณฑะอักเสบร่วมด้วย
·         ตรวจปัสสาวะพบว่ามีเม็ดเลือดขาวและเชื้อแบคทีเรียมาก
 
การรักษา
ยาที่ใช้รักษาคลิที่นี่ นอกจากนั้นยังใช้ยาดังต่อไปนี้รักษาเช่น ciprofloxacin, norfloxacin, ofloxacin or levofloxacin โดยให้ยา 4 สัปดาห์
Chronic bacterial prostatitis
เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียของต่อมลูกหมากเรื้อรังและมักจะเป็นสาเหตุของการติดเชื้อซ้ำทางเดินปัสสาวะ มักจะติดเชื้อหลังจากทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือตามหลังท่อปัสสาวะอักเสบ หรือต่อมลูกหมากอักเสบ
อาการของต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรัง
อาการของผู้ป่วยแต่ละคนจะไม่ค่อยเหมือนกัน อาการต่างๆที่พบได้คือ
·         ผู้ป่วยมักจะมีประวัติการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็นๆหายๆ
·         ปัสสาวะบ่อย อั้นปัสสาวะไม่ได้
·         ปัสสาวะกลางคืน
·         เมื่อปัสสาวะจะปวด
·         ปวดบริเวณอัณฑะและอวัยวะเพศ
·         เมื่อหลั่งน้ำกามจะปวด
·         ปวดหลัง
·         ปัสสาวะมีเลือดปน
·         ปัสสาวะเล็ด
การวินิจฉัย
เนื่องจากอาการของต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรังไม่มากและชัดเจนหากสงสัยสามารถวินิจฉัยโดยการตรวจต่อมลูกหมากทางทางทวารหนัก และนวดต่อมลูกหมากเพื่อนำสารหลังไปตรวจซึ่งจะพบเม็ดเลือดขาวมาก และเพาะเชื้อพบเชื้อแบคทีเรีย
การรักษา
·         เนื่องจากยาจะเข้าต่อมลูกหมากได้ไม่ดีดังนั้นการให้ยาอาจจะต้องให้ยา 2-3 เดือน แม้ว่าบางครั้งอาจจะฆ่าเชื้อไดไม่หมดก็อาจจะให้ยาปฏิชีวนะขนาดต่ำเพื่อป้องกันการเกิดอาการ ยาที่นิยมใช้คือtrimethoprim-sulfamethoxazole และ fluoroquinolones
·         แช่ก้นในน้ำอุ่นจะช่วยลดอาการปวดขัดได้
·         หลีกเลี่ยงอาหารที่ระคายต่อกระเพาะปัสสาวะเช่น alcohol, citrus juices, อาหารเผ็ดๆ และ caffeine.
·         ในรายที่เป็นเรื้อรังแพทย์อาจจะพิจารณาผ่าตัด
Chronic non-bacterial prostatitis/chronic pelvic pain syndrome
เป็นการอักเสบของต่อมลูกหมากที่พบบ่อยที่สุดโดยเกิดจากการติดเชื้อ chlamydia หรือ ureaplasma โรคนี้อาจจะเกิดตามหลังทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือท่อปัสสาวะอักเสบ
อาการเหมือนผู้ป่วยต่อมลูกหมากอักเสบเรึ้อรัง
การวินิจฉัยเหมือนต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรังแต่จะไม่พบเชื้อแบคทีเรียเมื่อนำสารหลังจากต่อมลูกหมากไปเพาะเชื้อ
การรักษา
·         รักษายากยาที่ใช้ได้แก่ tetracyclin,doxycyclin ,erythromycin ต้องรักษา 6-8 สัปดาห์
·         ได้รับยาระบายหากมีอาการท้องผูก
·         การผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากออกหากใช้ยาแล้วไม่ได้ผล
·         สวมถุงยางเมื่อมีการร่วมเพศ
·         แช่ก้นด้วยน้ำอุ่นจะช่วยลดอาการปัสสาวะบ่อย
·         ดื่มน้ำวันละอย่างน้อย 8 แก้ว
·         หลีกเลี่ยงอาหารที่ระคายต่อกระเพาะปัสสาวะเช่น alcohol, citrus juices, อาหารเผ็ดๆ และ caffeine.
สาเหตุ
4.   เชื้อโรคมาจากแบคทีเรียทางเดินปัสสาวะ เชื้อที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยคือ . Escherichia coli โดยเชื้อจะมาตามท่อปัสสาวะแล้เข้าสู่ต่อมลูกหมากและแบ่งตัวอย่างรวดเร็วทำให้เกิดการอักเสบ
5.   จากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยเชื้อที่เป็นสาเหตุคือ หนองใน(gonorrhea) chlamydia
6.   จากการส่องกล้อง
อาการของผู้ป่วยต่อมลูกหมากอักเสบ
อาการมักจะรุนแรงและเกิดทันที อาการที่เกิดได้แก่
·         ไข้สูงหนาวสั่น
·         ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดหลังและปวดข้อ
·         ปวดบริเวณอัณฑะและอวัยวะเพศ
·         ปัสสาวะบ่อย
·         ปัสสาวะไม่สุด อั้นปัสสาวะไม่ได้
·         ปัสสาวะไม่พุ่ง
·         จะมีอาการปวดเมื่อปัสสาวะ
การวินิจฉัย
เมื่อแพทย์ตรวจร่างกายและสงสัยว่าเป็นต่อมลูกหมากอักเสบแพทย์จะตรวจต่อไปนี้
·         ตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนักพบว่าต่อมลูกหมากบวมและกดเจ็บ รายที่เกิดจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อาจจะมีอัณฑะอักเสบร่วมด้วย
·         ตรวจปัสสาวะพบว่ามีเม็ดเลือดขาวและเชื้อแบคทีเรียมาก
การรักษา
ยาที่ใช้รักษา นอกจากนั้นยังใช้ยาดังต่อไปนี้รักษาเช่น ciprofloxacin, norfloxacin, ofloxacin or levofloxacin โดยให้ยา 4 สัปดาห์
Chronic bacterial prostatitis
เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียของต่อมลูกหมากเรื้อรังและมักจะเป็นสาเหตุของการติดเชื้อซ้ำทางเดินปัสสาวะ มักจะติดเชื้อหลังจากทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือตามหลังท่อปัสสาวะอักเสบ หรือต่อมลูกหมากอักเสบ
อาการของต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรัง
อาการของผู้ป่วยแต่ละคนจะไม่ค่อยเหมือนกัน อาการต่างๆที่พบได้คือ
·         ผู้ป่วยมักจะมีประวัติการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็นๆหายๆ
·         ปัสสาวะบ่อย อั้นปัสสาวะไม่ได้
·         ปัสสาวะกลางคืน
·         เมื่อปัสสาวะจะปวด
·         ปวดบริเวณอัณฑะและอวัยวะเพศ
·         เมื่อหลั่งน้ำกามจะปวด
·         ปวดหลัง
·         ปัสสาวะมีเลือดปน
·         ปัสสาวะเล็ด
การวินิจฉัย
เนื่องจากอาการของต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรังไม่มากและชัดเจนหากสงสัยสามารถวินิจฉัยโดยการตรวจต่อมลูกหมากทางทางทวารหนัก และนวดต่อมลูกหมากเพื่อนำสารหลังไปตรวจซึ่งจะพบเม็ดเลือดขาวมาก และเพาะเชื้อพบเชื้อแบคทีเรีย
การรักษา
·         เนื่องจากยาจะเข้าต่อมลูกหมากได้ไม่ดีดังนั้นการให้ยาอาจจะต้องให้ยา 2-3 เดือน แม้ว่าบางครั้งอาจจะฆ่าเชื้อไดไม่หมดก็อาจจะให้ยาปฏิชีวนะขนาดต่ำเพื่อป้องกันการเกิดอาการ ยาที่นิยมใช้คือtrimethoprim-sulfamethoxazole และ fluoroquinolones
·         แช่ก้นในน้ำอุ่นจะช่วยลดอาการปวดขัดได้
·         หลีกเลี่ยงอาหารที่ระคายต่อกระเพาะปัสสาวะเช่น alcohol, citrus juices, อาหารเผ็ดๆ และ caffeine.
·         ในรายที่เป็นเรื้อรังแพทย์อาจจะพิจารณาผ่าตัด
Chronic non-bacterial prostatitis/chronic pelvic pain syndrome
เป็นการอักเสบของต่อมลูกหมากที่พบบ่อยที่สุดโดยเกิดจากการติดเชื้อ chlamydia หรือ ureaplasma โรคนี้อาจจะเกิดตามหลังทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือท่อปัสสาวะอักเสบ
อาการเหมือนผู้ป่วยต่อมลูกหมากอักเสบเรึ้อรัง
การวินิจฉัยเหมือนต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรังแต่จะไม่พบเชื้อแบคทีเรียเมื่อนำสารหลังจากต่อมลูกหมากไปเพาะเชื้อ
การรักษา
·         รักษายากยาที่ใช้ได้แก่ tetracyclin,doxycyclin ,erythromycin ต้องรักษา 6-8 สัปดาห์
·         ได้รับยาระบายหากมีอาการท้องผูก
·         การผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากออกหากใช้ยาแล้วไม่ได้ผล
·         สวมถุงยางเมื่อมีการร่วมเพศ
·         แช่ก้นด้วยน้ำอุ่นจะช่วยลดอาการปัสสาวะบ่อย
·         ดื่มน้ำวันละอย่างน้อย 8 แก้ว
·         หลีกเลี่ยงอาหารที่ระคายต่อกระเพาะปัสสาวะเช่น alcohol, citrus juices, อาหารเผ็ดๆ และ caffeine.
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
สาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากยังไม่มีใครทราบ แต่เท่าที่วิจัยได้พบว่าความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากได้แก่
·         อายุ มะเร็งต่อมลูกหมากพบในผู้ป่วยอายุมากกว่า 50ปีขึ้นไป อายุโดยเฉลี่ยประมาณ 70 ปี
·         ประวัติครอบครัว พบว่าชายที่มีพ่อ หรือพี่น้องเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจะมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากสูงกว่าคนทั่วไป
·         เชื้อชาติ พบไม่บ่อยในชาวเอเชียแต่พบบ่อยในอเมริกา
·         อาหาร พบว่าผู้ที่บริโภคมันจากสัตว์มากมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ส่วนผู้ที่บริโภคผักและผลไม้จะลดโอกาสเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากผู้ที่สูบบุหรี่ก็มีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
ยังไม่พบหลักฐานว่าการทำหมันชายทำให้มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมากขึ้นขณะนี้กำลังศึกษาว่า ต่อมลูกหมากโต คนอ้วน การขาดการออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การเจอรังสี การติดเชื้อไวรัสบางชนิดเป็นสาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่ เท่าที่มีหลักฐานยังไม่พบความสัมพันธ์ดังกล่าว
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมากควรตรวจอะไรบ้าง
สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวควรจะปรึกษาแพทย์ว่าเมื่อไรจึงจะตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก แม้ว่าจะไม่มีอาการ จะตรวจอะไรบ้าง และตรวจถี่แค่ไหน แพทย์จะแนะนำให้ตรวจดังที่จะแสดงข้างล่าง แต่การตรวจดังกล่าวเป็นการตรวจว่ามีความผิดปกติที่ต่อมลูกหมากหรือไม่มิใช่บ่งว่าเป็นมะเร็ง
·         การตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนักโดยการที่แพทย์ใส่ถุงมือ ใช้ vaslin หล่อลื่นนิ้วมือ แล้วตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนักเพื่อดูว่ามีก้อน หรือขนาดโตขึ้น
·         การตรวจหาสาร PSA ซึ่งเป็นสารโปรตีนที่ผลิตโดยต่อมลูกหมาก ค่าจะสูงในโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ค่าปกติจะน้อยกว่า 4 nanogram ค่าอยู่ระหว่าง 4-10 nanogram ค่านี้อยู่ระดับปานกลางถ้าค่ามากกว่า 10 ถือว่าสูงค่ายิ่งสูงโอกาสเป็นมะเร็งก็จะสูง นอกจากนี้ยังพบว่าค่า PSA สูงพบได้ในโรค ต่อมลูกหมากโต การอักเสบของต่อมลูกหมาก ค่ามักจะอยู่ระหว่าง 4-10 nanogram
หากการตรวจดังกล่าวพบว่าผิดปกติก็จะต้องตรวจเพิ่มเพื่อยืนยันว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่
อาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งต่อมลูกหมากแรกเริ่มจะไม่มีอาการ แต่หากมีอาการจะเกิดอาการเหล่านี้
·         ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะเวลากลางคืน
·         เวลาเริ่มปัสสาวะจะลำบาก
·         ปัสสาวะไม่พุ่ง
·         เวลาปัสสาวะจะปวด
·         อวัยวะเพศแข็งตัวยาก
·         เวลาหลั่งเมื่อถึงจุดสุดยอดจะปวด
·         มีเลือดในน้ำเชื้อหรือปัสสาวะ
·         ปวดหลังปวดข้อ
อาการต่างๆเหล่านี้อาจจะเกิดในผู้ป่วยที่ต่อมลูกหมากโตหรือต่อมลูกหมากอักเสบ
การวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
เมื่อผู้ป่วยที่การตรวจเบื้องต้นสงสัยว่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมากแพทย์ทั่วไปจะปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อการวินิจฉัยต่อไปโดยทั่วไปนิยมตรวจ
·         Transrectal ultrasonography การทำ ultrasound ต่อมลูกหมากทางทวารหนัก
·         Intravenous pyelography คือการฉีดสีเข้าหลอดเลือดดำเพื่อให้สีขับออกทางไต ไปกระเพาะปัสสาวะ
·         Cystoscope แพทย์จะส่องกล้องเข้าทางท่อปัสสาวะ
เมื่อสงสัยเป็นมะเร็งแพทย์จะใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากไปตรวจทางพยาธิถ้าเป็นต่อมลูกหมากโตก็จะรักษาตามขั้นตอน
ระยะของโรค
การวางแผนการรักษาจะต้องรู้ว่ามะเร็งต่อมลูกหมากแพร่กระจายหรือยังหรือยังอยู่เฉพาะที่ต่อมลูกหมาก โดยจะต้องมีการตรวจเพิ่มเช่นการตัดชิ้นเนื้อจากทวารหนัก การ x-ray พิเศษ ที่นิยมแบ่งเป็น 4 ระยะได้แก่ 1-4 หรือ A-D
1.   Stage 1 หรือ A ระยะนี้ผู้ป่วยไม่มีอาการไม่สามารถตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากทาง ทวารทราบว่าเป็นโดยการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตระยะนี้มะเร็งอยู่เฉพาะในต่อมลูกหมาก
2.   Stage 2หรือ B สามารถตรวจได้จาการตรวจต่อมลูกหมากโดยการใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากเนื่องจากค่า PSA สูงมะเร็งยังอยู่ในต่อมลูกหมากไม่แพร่กระจาย
3.   Stage 3หรือC มะเร็งแพร่กระจายไปเนื้อเยื่ออยู่ใกล้ต่อมลูกหมาก
4.   Stage 4 หรือDมะเร็งแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะอื่น
5.   Reccurent หมายถึงภาวะที่มะเร็งกลับเป็นใหม่หลังจากรักษาไปแล้ว
การรักษา
แพทย์จะเลือกวิธีรักษาโดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆดังนี้
·         ระยะของโรคว่าแพร่กระจายหรือยัง
·         ชนิดของมะเร็ง
·         ประโยชน์ที่ได้จากการรักษา
·         ผลข้างเคียงของการรักษาและการป้องกัน
·         การรักษานี้มีผลต่อความรู้สึกทางเพศหรือไม่ มีผลต่อการปัสสาวะหรือไม่ หลังรักษามีปัญหาถ่ายเหลวหรือไม่
·         คุณภาพชีวิตหลังรักษา
วิธีการรักษา
1.   การเฝ้ารอดูอาการ เหมาะสำหรับมะเร็งที่เริ่มเป็นและผู้ป่วยสูงอายุหรือมีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา
2.   การผ่าตัด Prostatectomy เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในการรักษามะเร็งในระยะเริ่มต้นซึ่งมีวิธีการทำผ่าตัดได้ 3 วิธี
·         radical retropubic prostatectomy แพทย์จะผ่าตัดผ่านทางหน้าท้องโดยตัดเอาต่อมลูกหมากและต่อมน้ำเหลือง
·         radical perineal prostatectomy แพทย์ผ่าตัดผ่านทางผิวหนังบริเวณอัณฑะและทวารหนักโดยตัดต่อมลูกหมาก ส่วนต่อมน้ำเหลืองต้องตัดออกโดยผ่านทางหน้าท้อง
·         transurethral resection of the prostate (TURP)เป็นการตักต่อมลูกหมากโดยการส่องกล้องผ่านอวัยวะเพศเป็นการตัดชิ้นเนื้อเพื่อให้ปัสสาวะไหลคล่อง
ถ้าผลชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลืองมีเชื้อมะเร็งแสดงว่ามะเร็งนั้นแพร่กระจายแล้ว
2.   Radiation therapy การให้รังสีรักษาเป็นการให้ในกรณีที่มะเร็งนั้นก้อนขนาดเล็กหรือให้หลังจากผ่าตัดต่อมลูกหมากไปแล้วการให้รังสีรักษา อาจจะให้โดยการฉายแสงจากภายนอกหรือการฝังวัตถุอาบรังสีไว้ใกล้เนื้องอก implant radiationหรือ brachytherapy
3.   Hormonal therapy เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากต้องใช้ฮอร์โมนในการเจริญเติบโตการให้ฮอร์โมนจะใช้ในกรณีที่มะเร็งได้แพร่กระจายแล้ว หรือเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำหลังการรักษาซึ่งมีวิธีการรักษาดังนี้
·         การตัดลูกอัณฑะซึ่งเป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนเพศชาย
·         การใช้ยาเพื่อลดการสร้างฮอร์โมน testosterone เช่น leuprolide, goserelin, และ buserelin.
·         ยาที่ป้องกันการออกฤทธิ์ของ androgen เช่น flutamide และ bicalutamide.
·         ยาที่ป้องกันต่อมหมวกไตไม่ให้สร้างฮอร์โมน androgen เช่น ketoconazole and aminoglutethimide.
4.   Chemotherapy การให้เคมีบำบัดเป็นการฆ่าเซลล์มะเร็งโดยการให้สารเคมีซึ่งการรักษายังไม่ดีพบใช้ในกรณีที่โรคแพร่กระจายแล้ว
5.   ใช้สารที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิหรือภูมิที่สร้างจากภายนอกเพื่อให้ภูมิต่อสู่กับเชื้อโรค
6.   cryotherapy เป็นการรักษาใหม่โดยใช้เข็มสอดเข้าในต่อมลูกหมากแล้วฉีดสาร liquid nitrogen เพื่อแช่แข็งมะเร็งต่อมลูกหมาก ใช้ในกรณีที่ไม่เหมาะในการผ่าตัดผลการรักษายังไม่ยืนยันว่าได้ผลดี
ผลข้างเคียงของการรักษา
1.   การเฝ้ารอสังเกตอาการผลเสียคือทำให้เสียโอกาสในการรักษามะเร็งในระยะเริ่มแรก
2.   การผ่าตัด จะทำให้เจ็บปวดในระยะแรก และผู้ป่วยต้องคาสายสวนปัสสาวะ10วัน-3 สัปดาห์ การผ่าตัดอาจจะทำให้กลั้นปัสสาวะและอุจาระไม่ได้ และอาจจะเกิดกามตายด้าน นอกจากนี้จะไม่มีน้ำเชื้อเมื่อถึงจุดสุดยอด
3.   การฉายรังสีจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลียการผักผ่อนเป็นเรื่องที่สำคัญแต่ก็ควรออกกำลังเท่าที่จะทำได้ การฉายรังสีอาจจะทำให้ผมร่วง และอาจจะทำให้เกิดกามตายด้าน
4.   การให้ฮอร์โมนจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเหมือนชายวัยทองคือมีอาการกามตายด้าน ร้อนตามตัว
การป้องกัน
·         อาหารป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก
·         มีการศึกษาว่า วิตามินอี selenium และน้ำมะเขือเทศสามารถลดการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้
·         การลดอาหารไขมันและเพิ่มถั่ว ผัก ผลไม้สามารถป้องกันมะเร็งได้
เมื่อไรจะรักษาต่อมลูกหมากโต
ต่อมลูกหมากโตหากไม่มีอาการไม่จำเป็นต้องรักษาจะรักษาเมื่อมีอาการมากหรือไตเริ่มทำงานไม่ดี
การรักษาต่อมลูกหมากโตมีได้กี่วิธี
1.   Watchful waiting ถ้าต่อมลูกหมากที่โตไม่เกิดอาการท่านและแพทย์ที่ดูแลท่านอาจจะตกลงว่ายังไม่จำเป็นต้องให้ยา หรือการรักษาอย่างอื่นแต่ท่านต้องตรวจตามที่แพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะประเมินว่าต่อมลูกหมากที่โตเกิดปัญหาต่อสุขภาพหรือยัง ผู้ป่วยที่ต่อมลูกหมากโตไม่มากประมาณ1/3อาการจะดีขึ้นเอง แพทย์จะแนะนำมิให้รับประทานยาลดน้ำมูกเพราะจะทำให้อาการแย่ลง ผู้ป่วยที่ใช้วิธีเฝ้าคอย บางท่านอาการดีขึ้น บางท่านอาการคงที่บางท่านอาการแย่ลง
2.   Alfa blocker drug treatment เป็นยาที่ทำให้กล้ามเนื้อในต่อมลูกหมากคลายตัว ยานี้ไม่ได้โรคแทรกซ้อนหรือทำให้ต่อมลูกหมากลดลงยาที่มีอยู่คือ doxazosin , prazosin
·         terazosin ยาจะขยายกล้ามเนื้อของหลอดเลือดและของต่อมลูกหมากทำให้ความดันโลหิตลดลงและทำให้ปัสสาวะคล่องขึ้น
·         Finasteride ยาตัวนี้ออกฤทธิ์ต่อฮอร์โมนเพศชาย testosterone รับประทานวันละครั้ง ยาตัวนี้จะทำให้ขนาดของต่อมลูกหมากเล็กลงอาการผู้ป่วยจะดีหลังจากรับประทานไป 6 เดือนผลข้างเคียงของยาคือลดความต้องการทางเพศ
3.   การรักษาต่อมลูกหมากโตโดยไม่ใช้วิธีผ่าตัดได้แก่
·         Transurethral Microwave Procedures โดยการใช้ความร้อนจาก Microwave ทำลายเนื้อต่อมลูกหมากผ่านทางท่อปัสสาวะเรียกการรักษานี้ว่า transurethral microwave thermotherapy (TUMT) การรักษานี้จะทำให้ปัสสาวะไหลดีขึ้นการรักษาวิธีนี้ไม่ทำให้เกิดปัสสาวะเล็ดหรือความรู้สึกทางเพศลดลง
·         Transurethral Needle Ablation (TUNA) โดยใช้พลังงานความร้อนจากคลื่นความถี่วิทยุทำลายต่อมลูกหมาก การรักษาวิธีนี้ไม่ทำให้เกิดปัสสาวะเล็ดหรือความรู้สึกทางเพศลดลง
5.   Ballon dilatation โดยการสวนสายเข้าในท่อปัสสาวะและปลายสายมี ballon เพื่อขยายท่อปัสสาวะส่วนที่ต่อมลูกหมากอยู่ผลคือปัสสาวะจะไหลออกดีขึ้น ข้อเสียอาจจะมีเลือดออกและเกิดการติดเชื้อ
6.   การผ่าตัดเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาต่อมลูกหมากโตแต่ก็มีโรคแทรกซ้อนร่วมด้วย
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดต่อมลูกหมากโต
·         ปัสสาวะไม่ออก
·         ปัสสาวะล้นไปที่ไตทำให้ไตเสื่อม
·         มีการติดเชื้อปัสสาวะบ่อย
·         มีเลือดออกทางเดินปัสสาวะ
·         มีนิ่วทางเดินปัสสาวะ
วิธีการผ่าตัดมีกี่วิธี
1.   Transurethral resection of the prostate (TURP) โดยการใส่เครื่องมือเข้าทางท่อปัสสาวะและใช้เครื่องมือตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก หลังจากผ่าตัดผู้ป่วยยังคงต้องคาสายสวนปัสสาวะอีก 2-3 วัน
2.   Transurethral incision of the prostate (TUIP) ใช้ในกรณีที่ต่อมลูกหมากไม่โตมากโดยใช้เครื่องมือใส่เข้าท่อปัสสาวะแล้วกรีดต่อมลูกหมาก 2-3 รอยไม่มีการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากซึ่งจะลดความดันในต่อมลูกหมากทำให้ปัสสาวะออกง่ายขึ้น
3.   Open prostatectomy ใช้กรณีที่ต่อมลูกหมากโตมากโดยผ่าตัดผ่านทางหน้าท้องแล้วเอาต่อมลูกหมากออก
4.   Laser Surgery โดยการใส่เครื่องมือเข้าทางท่อปัสสาวะและปล่อยรังสีที่ต่อมลูกหมากความร้อนจากรังสีจะทำลายเนื้อต่อมลูกหมาก
หลังการผ่าตัดจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
หลังการผ่าตัดจะต้องนอนโรงพยาบาล 3-10 วันโดยมีการคาสายสวนปัสสาวะไว้เพื่อล้างกระเพาะปัสสาวะ เนื่องจากหลังการผ่าตัดจะมีเลือดออกได้หลายวัน หลังการผ่าตัดแผลยังอาจจะหายไม่ดีจึงมีข้อควรปฏิบัติดังนี้
·         ดื่มน้ำมากกว่าวันละ 8 แก้ว
·         เวลาถ่ายอุจาระอย่าเบ่งมาก
·         รับประทานผักและผลไม้ให้มากเพื่อป้องกันท้องผูก
·         อย่ายกของหนัก
·         หลีกเลี่ยงการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร
โรคแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
1.   หลังจากเอาสายสวนท่อปัสสาวะออก จะรู้สึกปัสสาวะแรงขึ้นและอาจจะมีอาการปวดขัดในช่วงแรก
2.   กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ซึ่งเป็นช่วงแรกของการผ่าตัด
3.   อาจจะมีเลือดออกได้ หากปัสสาวะมีเลือดออกไม่หยุดให้ปรึกษาแพทย์
4.   โรคแทรกซ้อนเกี่ยวกับความรู้สึกทางเพศ
·         การแข็งตัวของอวัยวะเพศ ถ้าหากก่อนผ่าตัดอวัยวะเพศสามารถแข็งตัวได้หลังผ่าตัดก็แข็งตัวได้เนื่องจากการผ่าตัดไม่ทำให้ความรู้สึกทางเพศลดลง
·         การหลั่งน้ำเชื้อ ผู้ป่วยเมื่อร่วมเพศและถึงจุดสุดยอดแต่จะไม่มีการหลั่งน้ำออกเนื่องจากน้ำเชื้อจะไหลกลับเข้ากระเพาะปัสสาวะซึ่งไม่อันตราย
·         การถึงจุดสุดยอด ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถทำการบ้านได้ดีเหมือนก่อนผ่า
อาการต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia)
อาการต่อมลูกหมากโตในเพศชายเป็นอีกโรคหนึ่งที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของการเจริญเติบโตของต่อมลูกหมากในวัยเด็ก ก่อนจะมาแสดงอาการตอนอายุมากแล้ว โดยเฉพาะช่วงอายุ 30-40 ปี ซึ่งต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะที่อยู่รอบท่อปัสสาวะติดกับกระเพาะปัสสาวะ และมีหน้าที่สร้างน้ำหล่อเลี้ยงตัวเชื้ออสุจิ ดังรูป


สำหรับผู้ที่มีอาการต่อมลูกหมากโตนั้น ต่อมลูกหมากจะโตช้ามากในช่วงวัยเด็ก แต่จะเริ่มโตขึ้นเรื่อยๆ หลังจากอายุ 30-40 ปี เป็นสาเหตุให้เกิดอาการต่อมลูกหมากโตผฺดปกติ โดยเฉพาะในผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 40 ปี

 
ปัญหาต่อมลูกหมากโต>>>>>>>สามารถแก้ปัญหาได้ด้วย UROK ผลิตภัณฑ์สำหรับคุณผู้ชายโดยเฉพาะ
 

สั่งซื้อและเป็นตัวแทนจำหน่ายที่
คุณวราพร แคล้วศึก โทร 085-9083178
ดูรายละเอียดที่ http://www.pannfiturok.blogspot.com/
บล็อกสินค้าแนะนำ
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น