การหย่อนสมรรถภาพทางเพศหมายถึงภาวะที่อวัยวะเพศ
ไม่สามารถแข็งตัวได้อย่างเพียงพอ ที่จะมีเพศสัมพันธ์ บางคนอาจจะไม่แข็งตัว
บางคนอาจจะหลั่งเร็ว
บางคนอาจจะมีอาการปวดเวลาหลั่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงที่อวัยวะเพศไม่พอพบได้ร้อยละ 5 ในผู้ที่อายุน้อยกว่า 40 ปี พบได้ร้อยละ 37.5สำหรับผู้ที่อายุมากกว่า 40-70
ปี
ใครที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้
1.
อายุ พบว่าอายุมากก็พบโรคนี้ได้เพิ่มขึ้นโดยพบว่าผู้ที่มีอายุ 40-49,50-59,60-70 ปีจะพบ ED
ได้ร้อยละ 20.4,46.3,73.4 ตามลำดับ
2.
สังคมและเศรษฐกิจพบว่าผู้ที่มีรายได้สูง มีความรู้
อาชีพที่ดีจะมีปัญหา
ED น้อยกว่าคนที่มีรายได้น้อย
3.
โรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรัง
โรคประจำตัวต้องเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นมานานพอควรเป็นโรคที่มีผลต่อหลอดเลือดแดง
หลอดเลือดดำ กล้ามเนื้อบริเวณอวัยวะเพศสามารถทำให้โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
เช่นโรคเบาหวาน โรคไต โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคหลอดเลือดแดงแข็ง atherosclerosis โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศในกลุ่มนี้พบได้ร้อยละ
70 โรคที่สำคัญได้แก่
- โรคหัวใจและหลอดเลือด
เพราะจะทำให้มีการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะเพศน้อยลง
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคเบาหวานมักจะเกิดหลังจากเป็นเบาหวานแล้วประมาณ
10 ปีซึ่งมีสาเหตุสำคัญคือ
เส้นเลือดแข็ง ระบบประสาทอัตโนมัติ
- โรคต่อมลูกหมากโต
1.
การผ่าตัดและอุบัติเหตุที่มีผลต่อเส้นประสาทที่ไปควบคุมการแข็งตัวขององคชาต
เช่นการผ่าตัดในอุ้งเชิงกราน การผ่าตัดต่อมลูกหมาก
การได้รับอุบัติเหตุที่อวัยวะเพศ ประสาทไขสันหลัง กระเพาะปัสสาวะ กระดูกเชิงกราน
อาจจะทำลายเส้นประสาททำให้เกิดกามตายด้าน การผ่าตัดผ่านทางท่อปัสสาวะ
3.
พฤติกรรมการดำรงชีวิตได้แก่
- การสูบบุหรี่
คนที่สูบบุหรี่จะมีการเกิด ED
สูงกว่าคนไม่สูบโดยพบได้ร้อยละ 45 คนปกติพบได้ร้อยละ
35
- การดื่มสุรา
คนที่ดื่มสุราจะมี RD ร้อยละ 54 ซึ่งคนปกติพบได้ร้อยละ 28
- การออกกำลังกายผู้ที่ออกกำลังจะพบได้น้อยกว่าผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย
1.
ED
ที่เกิดจากจิตใจพบได้ประมาณร้อยละ 10-20 ของผู้ป่วยโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
ภาวะดังกล่าวอาจจะเกิดจากความเครียด ความวิตกกังวลเกี่ยวกับงาน ครอบครัว
ความกลัวความล้มเหลวทางเพศสัมพันธ์ หรือถูกตำหนิจากคู่ครองทำให้หมดความมั่นใจ
อาการของผู้ป่วย
- ไม่สามารถแข็งตัวได้ตลอดการมีเพศสัมพันธ์
- อวัยวะเพศไม่แข็งตัวเต็มที่
- ไม่สามารถแข็งตัวเลย
หากคุณมีอาการดังกล่าวนานเกิน 2 เดือนหรืออาการเกิดซ้ำควรปรึกษาแพทย์
ความรุนแรงของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศแบ่งออกได้ 3 ระดับคือ
อาการน้อย
คือสามารถมีเพศสัมพันธุ์ได้สำเร็จเกือบทุกครั้ง
อาการปานกลาง
คือมีเพศสัมพันธุ์ได้สำเร็จประมาณครึ่งหนึ่ง
อาการรุนแรง คือมีเพศสัมพันธุ์ไม่สำเร็จ
บล็อกสินค้าแนะนำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น